![]() |
ท่องเที่ยว | ![]() |
เที่ยวเชียงรายเมืองเก่า ๗๖๐ ปี |
ข่าว | |||
|
|||
![]() |
![]() |
![]() |
แผนที่เส้นทางรถ ซิตี้บัส | แผนที่เที่ยวเมืองเก่าเชียงราย | เส้นทางท่องเที่ยว จ.เชียงราย |
นั่งรถชมเมือง | ||
![]() |
![]() |
![]() |
รถ ซิตี้บัส 20 บาท ตลอดสาย สนามบิน - ขนส่ง 2 | รถรางชมเมือง (ฟรี) จอดที่หลังอนุสาวรีย์พ่อขุน | มาเป็นกลุ่มนั่งสามล้อชมเมืองสนุกดี |
เที่ยวเชียงรายเมืองเก่า ๗๖๐ ปี | |||||||||||
![]() |
![]() |
พญามังรายมหาราช (พ่อขุนมังราย) สร้างเมืองเชียงรายและขึ้นครองราชเป็นปฐมกษัตรย์ เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๐๕ และพ่อขุนยังได้สร้าง เวียงกุมกาม (อำเภอสารพี จ.เชียงใหม่) เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๙ และเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๑๘๓๔
มีเรื่องเล่าว่า หลังจากการสร้างตุงหลวงเสร็จก็มีพิธีการย้ายอนุสาวรีย์เข้าใกล้ตุงหลวง ก็พบว่า ที่พระเนตรของพระองค์มีน้ำไหลย้อยคล้ายกับพระองค์ไม่ยินยอมให้ย้าย
อนุสาวรีย์พ่อขุน ตั้งอยู่ที่ ห้าแยกพ่อขุน บนทางหลวง สาย 1 |
|||||||||
![]() |
สถูปพญามังราย (เม็งราย) บนดอยงำเมือง พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงรายเมื่อ ๗๖๐ ปี และเป็นปฐมกษัตริย์เมืองเชียงราย เบื้องหลังพระองค์คือสถูปบรรจุอัฐิพญามังราย ตามประวัติกล่าวว่า พญามังรายตามหาช้างคู่พระทัยที่พลัดหลงขึ้นมาบนดอยแห่งนี้ และพญามังรายพบว่า บริเวณแห่งนี้เหมาะสมต่อการสร้างเมือง จึงได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้น หลังจากพระบิดาซึ่งครองราชที่เมืองเชียงแสนในขณะนั้นสิ้นพระชนม์ พระองค์ได้ขึ้นครองราช และได้ย้ายเมืองเอกมาที่เชียงราย ในช่วงพญามังรายปกครองเชียงราย ได้มีการรวบรวมเจ้าผู้ปกครองเมืองต่างๆ เข้าด้วยกันให้เป็นปึกแผ่นและสถาปนาเป็นอาณาจักรล้านนา |
||||||||||
![]() |
พระธาตุดอยจอมทองเป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงรายเป็นวัดเก่าแก่ สันนิฐานว่ามีมารก่อนที่พ่อขุนเม็งรายมหาราชจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘๐๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงสาวดารโยนก ของ พยาประชากรจักร กล่าวว่า เมื่อพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษา มีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทธโกษาเป็นชาวโกศลเมืองสุธรรมวดี (สะเทิน) ในรามัญประเทศ ได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีป นำคัมภีร์พระไตรปิฎกแห่งลังกาทวีปมาสู่รามัญประเทศ และพุกามประเทศและเข้าสู่แคว้นนครชัยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราชเจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสอง รวมสามองค์ ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุยัน) ส่วนหนึ่งบันจุลงในมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่า พระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมือง มีพิธีสรงน้ำพระธาตุ ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ) เสาร์สดีอเมืองตั้งอยู่บนดอยจอมทองตามที่พญามังราย (พญาเม็งรายมหาราช) ทรงกำหนดให้บริเวณนี้เป็นสดีอเมืองเมื่อแรกสร้างเมืองเชียงราย วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๑๘๐๕ |
||||||||||
![]() |
|
วัดพระแก้ว เดิมชื่อ "วัดป่าเยียะ" (วัดป่าไผ่) เมื่อปี พ.ศ. 1977 ได้มีการค้นพบพระแก้วมรกตที่วัดนี้ จากตำนานที่เล่าขานไว้ว่า วันหนึ่งเกิดฟ้าผ่าองค์เจดีย์ทำให้เจดีย์แตก และพบองค์พระปูนปั้นซ่อนในองค์เจดีย์ จึงได้นำไปประดิษฐานเพื่อสักการะ ต่อมาวันหนึ่งปูนที่พอกองค์พระแตก จึงพบว่าภายในเป็นองค์พระแกะสลักจากหินหยกสีเขียว ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า "วัดพระแก้ว" ปัจจุบันพระแก้วมรกตประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว ในกรุงเทพฯ) พระแก้วองค์ปัจจุบันในวัดพระแก้วเชียงราย สร้างขึ้นโดยคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชียงราย เรียก "พระหยกเชียงราย" ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์จัดแดงพระพุทธรูปโบราณ และสิ่งของเก่าแก่อื่น ๆ อีกมากมาย |
|||||||||
![]() |
![]() |
วัดกลางเวียง ที่ตั้งเสาหลักเมือง เดิมชื่อวัดจันทโลก (จั๋นตะโลก) ตั้งชื่อตามต้นจันท์แดงขนาดใหญ่ภายในวัด
จากการรังวัดเมืองพบว่าวัดนี้อยู่ในใจกลางเมืองพอดี จึงได้ประดิษฐานเสาหลักเมืองณที่นี้ บ้างก็เรียกว่า เสาสดือเมือง (เสาสดือเมืองตั้งอยู่บนดอยจอมเทอง) วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่แค่ไหน ยังหาข้อสรุปไม่ได้ มีมาก่อนการสร้างเมืองเชียงรายหรือหลังการสร้างเมืองยังไม่มี หลักฐานแน่ชัด เชื่อว่ามีอายุประมาณ 500 ปี และหลังการสร้างเมืองเชียงราย วัดกลางเวียงตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนรัตนาเขต และอุตรกิจ |
|||||||||
![]() |
![]() |
วัดมิ่งเมือง เดิมเรียก วัดจ๋างมูบ (ช้างมูบ) สร้างขึ้นเมื่อใดยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ตามหลักฐานที่มีเชื่อว่าชาวไทใหญ่ได้ร่วมกันสร้างขึ้นไม่น้อยกว่า 600 ปี แต่สร้างขึ้นหลังการสร้างเมืองเชียงราย อุโบสถเป็นเรือนไม่ศิลปล้านนา วัดมิ่งเมืองตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนบรรพปราการและถนนไตรรัตน์ |
|||||||||
![]() |
![]() |
วัดพระสิงห์ เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ (สิงค์ ๑) ซึ่งสร้างโดยกษัตริย์ลังกาเมื่อ พ.ศ. ๗๐๐ อันเชิญ เข้าประเทศสยามโดยพ่อขุนราม คำแหง (๑๘๒๐ - ๑๘๖๐) พระเจ้ามหาพรม ผู้ครองเมืองเชียงรายในขณะนั้น ได้อันเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ที่เมือง เชียงราย และได้อยู่คู่กับเมืองเชียงรายเป็นเวลา 20 ปี ก่อนที่ เจ้าแสนเมืองมาผู้ครองนครเชียงใหม่ ชนะการสู้รบแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานที่ เชียงใหม่ ปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ใน พระที่นั่งพุทไธศวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร (ที่มา พระเครื่องตั้มศรีวิชัย) บานประตูอุโบสถเป็นไม้แกะสลักโดยศิลปินล้านนา อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี (บ้านดำ)
วัดพระสิงห์ตั้งอยู่บน ถ.สิงหไคล + ถ.ท่าหลวง |
|||||||||
|
|||||||||||
![]() |
วัดศรีเกิด วัดศรีเกิดเป็นวัดเก่าวัดนึงที่สร้างขึ้นไม่ต่ำกว่า 500 ปีมาแล้ว อุโบสถศิลปะล้านนา (คล้ายคลีงกับวัดมิ่งเมือง)
วัดศรีเกิดตั้งอยู่ที่หัวมุม ถ.พหลโยธิน (สายเก่า + ท.ล.1) |
||||||||||
|
|
โบสถ์คริสตจักรแห่งแรกของเชียงราย สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) โดยนายแพทย์ วิลเลี่ยม เอ. บริกส์ (William A. Briggs) ตั้งอยู่ที่มุมถนนพหลโยธิน + ถนนกลางเวียง (ประตู่สลี่) โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค สร้างโดยคณะมิสชันนารี่ เพรสบิเทเรียน (Presbyterian) รถพยาบาลคันแรกของโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค เป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อ จิ๊บวิลลี่ (Jeep Willy Station Wagon) ประวัติที่มาของรถพยาบาลคันแรก ตั้งอยู่ที่มุมถนนสิงหไคล + ถนนงำเมือง |
|||||||||
All Rights Reserved | ||
admin@livinginthailand.com | ||