ชุมชนไทเขิน บ้านสันโคงหลวง อพยพมาจาก เมืองเชียงตุง เมืองพยาก (เมืองพยัคฆ์) เมืองเชียงรุ้ง เมืองเลน เมืองสาด รวมทั้งชุมชนไทเขินที่อาศัยอยู่ที่เมืองเชียงใหม่เมื่อทราบข่าวก็ย้ายมาร่วม
เมื่อเป็นชุมชน ก็มีการสร้างพระอุโบสถดเพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิฑีการทางศาสนา และเป็นที่มาของวัด วัดเชียงยืน ก็เช่นเดียวกับวัดอื่นๆ ในภาคเหนือของไทย รวมถึงวัดในภาคเหนือของประเทศลาว ที่มีความเป็นมาคล้ายคลึงกัน
- วิหารหลังเล็ก เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าสะเปาคำ (พระเจ้าสำเภาทอง ... ฐานของพระรูปเป็นรูปร่างสำเภา องค์พระมีเนื้อทองคำมากกว่าส่วนผมสมอื่น) พระอุโบสถเป็นศิลปะไทลี้อ เอกลักษณ์ที่ชัดเจนอยู่ที่หลังคาพระอุโบสถ
- พระเจ้าสะเปาคำ เป็นศิลปะไทลี้อ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 14 นิ้ว ส่วนสูงจากฐานถึงยอด 13.5 นิ้ว มีอายุประมาณ 500 - 700 ปี
- จากคำบอกเล่า เดิมพระพุทธรูปองค์นี้มีชื่อว่า พระเจ้าเชียงรุ้ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีผู้นำมาถวายไว้ที่ วัดเชียงยืน โดยเรียกชื่อใหม่ว่า พระเจ้าสะเปาคำ เป็นพระพุทธรูปสู่ชุมชนบ้านสันโคงมาโดยตลอด เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดไว้ขอพร และถวายด้วยดอกดาวเรืองจะสำเร็จทุกประการ
- วันที่ 12 เมษายนทุกปี จะมีประเพณีอัญเชิญพระเจ้าสะเปาคำแห่รอบชุมชน ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ และสรงน้ำ เพื่อเป็นสิริมงคลตามประเพณีของชาวล้านนา
วิหารสะเปาคำ ได้ต้นแบบมาจาก วิหารวัดไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิหารศิลปไทลี้อ ได้รับความอนุเคราะห์ต้นแบบวัดไหล่หินจาก คุณมานิตย์ ยาพุฒสืบ และได้ผสมผสานแบบวิหารต่างๆ เข้าไว้อย่าลงตัว ออกแบบและรังสรรค์โดย เจมส์เขลางนคร |