Living in Thailand

พระราชบัญญัติ

 
start page living live in            

พระราชบัญญัติ การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมวด ๒
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ


มาตรา ๑๒

  • ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ”
    ประกอบด้วย

(๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ

(๒) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง

(๓) ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง

(๔) รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ
คนที่สาม

(๕) ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการ
ทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคง
แห่งชาติ ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกร
แห่งชาติ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
ไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และประธานสมาคมธนาคารไทย
เป็นกรรมการ

(๖) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมี
อายุไม่เกินเจ็ดสิบห้าปี ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ในด้านความมั่นคง
ด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือด้าน
อื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ จำนวนไม่เกินสิบเจ็ดคน

  • ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
    ซึ่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย และรองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
  • ในการแต่งตั้งกรรมการตาม (๖) ให้คำนึงถึงความหลากหลายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และ
    ความหลากหลายของช่วงอายุด้วย
  • ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการตาม (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ให้คณะกรรมการ
    ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่

มาตรา ๑๓

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี
  • ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่
    ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

มาตรา ๑๔

  • นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒ (๖)

(๔) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย
หรือหย่อนความสามารถ

มาตรา ๑๕

  • ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี

(๒) กำหนดวิธีการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ และการมี
ส่วนร่วมในการติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
และมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนดำเนินการให้สอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์ชาติ

(๓) เสนอความเห็นต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในเรื่อง
เกี่ยวกับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ

(๔) กำกับดูแลการปฏิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติตามที่กำหนดไว้ใน
กฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ

(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา ๑๖

  • ในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อพิจารณาจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติในด้านต่าง ๆ ตามที่
    คณะกรรมการกำหนด และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่
    คณะกรรมการมอบหมาย
  • คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติแต่ละคณะ ให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้
    ความเชี่ยวชาญในด้านนั้น จำนวนไม่เกินสิบห้าคน โดยในการแต่งตั้งให้คำนึงถึงความ
    หลากหลายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และความหลากหลายของช่วงอายุด้วย
  • ในการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมหรือภารกิจ
    ขององค์กรอิสระ ให้แต่งตั้งผู้แทนจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมหรือองค์กรอิสระที่
    เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการด้วย

มาตรา ๑๓

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี
  • ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่
    ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

มาตรา ๑๔

  • นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒ (๖)

(๔) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย
หรือหย่อนความสามารถ

มาตรา ๑๕

  • ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี

(๒) กำหนดวิธีการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ และการมี
ส่วนร่วมในการติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
และมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนดำเนินการให้สอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์ชาติ

(๓) เสนอความเห็นต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในเรื่อง
เกี่ยวกับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ

(๔) กำกับดูแลการปฏิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติตามที่กำหนดไว้ใน
กฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ

(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา ๑๖

  • ในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
    ขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อพิจารณาจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติในด้านต่าง ๆ ตามที่
    คณะกรรมการกำหนด และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่
    คณะกรรมการมอบหมาย
  • คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติแต่ละคณะ ให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้
    ความเชี่ยวชาญในด้านนั้น จำนวนไม่เกินสิบห้าคน โดยในการแต่งตั้งให้คำนึงถึงความ
    หลากหลายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และความหลากหลายของช่วงอายุด้วย
  • ในการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมหรือภารกิจ
    ขององค์กรอิสระ ให้แต่งตั้งผู้แทนจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมหรือองค์กรอิสระที่
    เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการด้วย

มาตรา ๑๗

  • ให้คณะกรรมการและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ แล้วแต่กรณี มอบหมาย

มาตรา ๑๘

  • การประชุมของคณะกรรมการ คณะกรรมการจัดทำ ยุทธศาสตร์ชาติและคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
  • ในการประชุมของคณะกรรมการ ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการจะมอบหมาย
    บุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้

มาตรา ๑๙

  • การปฏิบัติหน้าที่และการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
    และคณะอนุกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๒๐

  • ในกรณีที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติจำเป็นต้องได้ข้อมูล
    หรือมีการศึกษาเรื่องใด จะขอให้สำนักงานจ้างบุคคล สถาบันการศึกษา หรือสถาบันที่มี
    วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย เพื่อดำเนินการศึกษาค้นคว้าและจัดทำรายงานเรื่องดังกล่าวก็ได้
  • วิธีการจ้าง ค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอื่นของบุคคลหรือสถาบันตามวรรคหนึ่ง
    ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๒๑

  • ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และอนุกรรมการตามมาตรา ๑๗ ได้รับค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๒

  • ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการ ของคณะกรรมการและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

(๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะกรรมการจัดทำ ยุทธศาสตร์ชาติ
และคณะอนุกรรมการ

(๒) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลและความเห็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาจัดทำ
ยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานด้านวิชาการให้แก่
คณะกรรมการ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และคณะอนุกรรมการ

(๓) ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินการ
ตามพระราชบัญญัตินี้

(๔) ดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมตามมาตรา ๘

(๕) เผยแพร่ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท รวมทั้งดำเนินการอื่นใดเพื่อสร้างความรู้
ความเข้าใจและสร้างแนวร่วมในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ

(๖) รับผิดชอบในการดำเนินการให้มีการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
และการจัดทำรายงานตามมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๗ วรรคสอง

(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการและ
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติมอบหมาย

 
 
     
     
     
All Rights Reserved admin@livinginthailand.com