Living in Thailand

กฏกระทรวง

 

     
     

กฏกระทรวง

สุขลักษณะการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๑


 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ
การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข
ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑

  • กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
    เป็นต้นไป

ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้

  • “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะของคน หรือสิ่งอื่นใดที่ปนเปื้อนอุจจาระ
    หรือปัสสาวะ
  • “การจัดการสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า กระบวนการดำเนินการตั้งแต่ระบบการรองรับ การเก็บ
    การขน และการกำจัดสิ่งปฏิกูล
  • “ส้วม” หมายความว่า สถานที่ที่จัดไว้สำหรับขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ และให้หมายความรวมถึง
    ระบบรองรับสิ่งปฏิกูล
  • “ส้วมสาธารณะ” หมายความว่า ส้วมที่จัดไว้เพื่อให้บริการเป็นการทั่วไปในสถานที่ต่าง ๆ
    ทั้งกรณีที่มีการจัดเก็บค่าบริการและไม่จัดเก็บค่าบริการ และให้หมายความรวมถึงส้วมที่จัดไว้
    เพื่อให้บริการภายในหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานของเอกชน
  • “ส้วมเคลื่อนที่” หมายความว่า ส้วมที่ติดตั้งในยานพาหนะหรือแพ
  • “ส้วมชั่วคราว” หมายความว่า ส้วมที่ไม่ได้สร้างเป็นการถาวร และให้หมายความรวมถึง
    ส้วมประกอบสำเร็จรูป
  • “การขนสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า การสูบสิ่งปฏิกูลจากถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลหรือระบบกำจัด
    สิ่งปฏิกูลแบบติดกับที่ แล้วนำไปยังระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม
  • “ถังเก็บกักสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า ถังหรือบ่อที่มีลักษณะมิดชิด น้ำซึมผ่านไม่ได้เพื่อใช้
    เป็นที่รองรับสิ่งปฏิกูลจากส้วมก่อนการขนหรือการกำจัดสิ่งปฏิกูล
  • “การกำจัดสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า การบำบัด การปรับปรุงหรือแปรสภาพสิ่งปฏิกูล
    ให้ปราศจากมลภาวะ สภาพอันน่ารังเกียจ หรือการก่อให้เกิดโรค เพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือทำลาย
  • “ระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลแบบติดกับที่” หมายความว่า กระบวนการกำจัดสิ่งปฏิกูลสำหรับ
    อาคารประเภทต่าง ๆ เช่น บ้านพักอาศัย อาคารชุด โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรมหรือกลุ่มอาคาร
  • “ระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม” หมายความว่า กระบวนการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่รวบรวมจากระบบ
    กำจัดสิ่งปฏิกูลแบบติดกับที่ ส้วมเคลื่อนที่ หรือจากสถานที่ต่าง ๆ มากำจัดรวม
  • “กากตะกอน” หมายความว่า ส่วนที่เป็นของแข็งซึ่งเหลือจากการกำจัดสิ่งปฏิกูล
  • “ผู้มีหน้าที่จัดการสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า

(๑) ราชการส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง

(๒) ราชการส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา ๑๘
วรรคสอง

(๓) ราชการส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจดำเนินการร่วมกับราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามมาตรา ๑๘
วรรคสอง

(๔) ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากราชการส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจตามมาตรา ๑๘ วรรคสาม

(๕) ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๙
ข้อ ๓ การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้

ข้อ ๔

  • ในกรณีที่มีการจัดงานมหรสพ งานเทศกาล งานแสดงสินค้า การชุมนุม การชุมนุมสาธารณะ
    หรือกิจกรรมอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการตั้งแต่สามชั่วโมงขึ้นไป
    ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบการดำเนินการดังกล่าวต้องจัดให้มีส้วม ส้วมสาธารณะ ส้วมเคลื่อนที่ หรือส้วมชั่วคราว
    ที่ถูกสุขลักษณะตามข้อ ๗ ข้อ ๘ หรือข้อ ๙ แล้วแต่กรณี สำหรับให้บริการอย่างเพียงพอ
  • เมื่อการดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้น ในกรณีที่มีการติดตั้งส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราว
    ให้ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เรียบร้อยและถูกสุขลักษณะ
    ในการนี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีหน้าที่และอำนาจตรวจสอบความเรียบร้อย
    ในการรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่ดังกล่าว หากพบว่าไม่ถูกสุขลักษณะให้ออกคำ สั่งให้ผู้จัด
    หรือผู้รับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขได้

ข้อ ๕

  • ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราว
    ที่ถูกสุขลักษณะตามข้อ ๘ หรือข้อ ๙ แล้วแต่กรณี สำหรับให้บริการตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
    ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกาศกำหนด
    ในราชกิจจานุเบกษา

 

 
       
All right reserved      
admin@livinginthailand.lcom